ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner)
เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
การเสริมแรง(Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้า
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) -พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
สกินเนอร์ ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยในความคิดของข้าพเจ้า
ทฤษฎีของสกินเนอร์จะเน้นให้ลงมือกระทำหรือลงมือปฏิบัติ ครูปฐมวัยต้องจัดการเรียนการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองเพราะเชื่อว่าการเรียนที่ดีที่สุด คือการที่เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งนั้นและเด็กก็จะได้เรียนรู้ในสิ่งนั้นๆได้ดีขึ้น มีประสบการณ์ในเรื่องต่างๆที่ตนเองได้ลงมือกระทำและถ้าเด็กได้กระทำหรือปฏิบัติซ้ำๆทำบ่อยๆเด็กก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อีก1อย่างที่สกินเนอร์กล่าว คือสิ่งเร้า เด็กปฐมวัยต้องมีสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้กับเด็กให้การเรียนการสอนน่าสนใจ ครูต้องทำให้เด็กรู้สึกอยากที่จะเรียนในกิจกรรมที่ครูเตรียมมาเช่น วันนี้ครูจะสอนเรื่องสัตว์ ครูอาจจะหาสิ่งเร้าโดยการนำปลาหรือสื่อต่างๆที่น่าสนใจมาให้เด็กดูเพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆได้ดียิ่งขึ้นและมีความสนใจที่จะเรียน สิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่งจะเหมือนกับการเสริมแรงให้เด็กเช่น เด็กตอบคำถามที่ครูถามได้ ครูก็จะให้รางวัลโดยการติดดาวให้เด็กคนที่ตอบถูกเพื่อที่เด็กคนอื่นๆจะได้รู้สึกอยากตอบบ้างหรืออาจจะเป็นคำชื่นชมเด็กก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น